1. การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ การไม่อาศัยเพศส่วนใหญ่เป็นการแบ่งเซลล์เป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน เช่น อะมีบา สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางชนิดสืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ เช่น ยีสต์
2. การสืบพันธุ์ของสัตว์
การสืบพันธุ์ของสัตว์มีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในสัตว์ที่มีโครงสร้างของร่างกายไม่ซับซ้อนและมีความสามารถในการงอกใหม่ เช่น พลานาเรีย ดาวทะเล สัตว์พวกนี้สามารถสืบพันธุ์โดยวิธีการงอกใหม่ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเกิดจากการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรืออสุจิกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือเซลล์ไข่ซึ่งอาจเกิดภายในหรือภายนอกเพศเมียก็ได้เซลล์ไข่ที่ได้รับการผสมเรียกว่า ไซโกต
2.1 การสืบพันธุ์แบบอาศัยไม่เพศการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
เป็นการสืบพันธุ์แบบที่ไม่จำเป็นจะต้องมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เพียงแต่สร้างตัวจำลองตนเอง โดยมีคุณสมบัติและพันธุกรรมเหมือนตัวเดิมทุกประการ คือ มีการแสดงออกหรือฟีโนไทน์เหมือนเดิมและลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ การสืบพันธุ์แบบนี้มีหลายวิธี
การสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ ได้แก่ อ่านเพิ่มเติม
วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558
ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์
การที่สิ่งมีชีวิตจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นั้น สิ่งมีชีวิตจะต้องเกิดกระบวนการย่อยอาหาร เพื่อให้ได้สารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กพอที่เซลล์จะนำไปใช้เป็นสารให้พลังงานและใช้ในการซ่อม-แซมส่วนที่สึกหรอ และให้การเจริญเติบโต สารอาหารโมเลกุลเล็กที่ได้จากการย่อยจะลำเลียงไปยังเซลล์ต่างๆ โดยวิธีการต่างๆ
ส่วนพืชจะมีการลำเลียงน้ำ แร่ธาตุจากดินเข้าสู่ราก จากรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของพืช อาหารสังเคราะห์ที่ใบ หรือส่วนอื่นที่มีคลอโรฟิลล์ อาหารที่สังเคราะห์ได้ส่วนใหญ่ พืชจะนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเกิดการย่อยอาหารเหมือนในสัตว์
การย่อยอาหาร เป็นกระบวนการทางกายภาพ และทางเคมีที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้สารที่มีโมเลกุลเล็กพอที่เซลล์จะนำไปใช้ประโยชน์ได้
กระบวนการทางกายภาพ คือ การตัดฉีกให้อาหารชิ้นใหญ่มีขนาดเล็กลง โดยที่องค์ประกอบทางเคมีไม่เปลี่ยนแปลงเช่นการเคี้ยวอาหาร กระบวนการทางเคมีเป็นการทำให้สาร-อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่สลายตัว เป็นสารอาหารโมเลกุลเล็กโดยที่องค์ประกอบทางเคมีเปลี่ยน-แปลงไปจากเดิม คุณสมบัติทางเคมีต่างไปจากเดิม ซึ่งจะต้องอาศัยเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ตำแหน่งที่เกิดการย่อยอาหารนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิต เช่น การย่อยอาหารนอกเซลล์ หรือนอกร่างกาย การย่อยอาหารในเซลล์ คือ การย่อยอาหารในท่อทางเดินอาหาร เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
ส่วนพืชจะมีการลำเลียงน้ำ แร่ธาตุจากดินเข้าสู่ราก จากรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของพืช อาหารสังเคราะห์ที่ใบ หรือส่วนอื่นที่มีคลอโรฟิลล์ อาหารที่สังเคราะห์ได้ส่วนใหญ่ พืชจะนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเกิดการย่อยอาหารเหมือนในสัตว์
การย่อยอาหาร เป็นกระบวนการทางกายภาพ และทางเคมีที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้สารที่มีโมเลกุลเล็กพอที่เซลล์จะนำไปใช้ประโยชน์ได้
กระบวนการทางกายภาพ คือ การตัดฉีกให้อาหารชิ้นใหญ่มีขนาดเล็กลง โดยที่องค์ประกอบทางเคมีไม่เปลี่ยนแปลงเช่นการเคี้ยวอาหาร กระบวนการทางเคมีเป็นการทำให้สาร-อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่สลายตัว เป็นสารอาหารโมเลกุลเล็กโดยที่องค์ประกอบทางเคมีเปลี่ยน-แปลงไปจากเดิม คุณสมบัติทางเคมีต่างไปจากเดิม ซึ่งจะต้องอาศัยเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ตำแหน่งที่เกิดการย่อยอาหารนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิต เช่น การย่อยอาหารนอกเซลล์ หรือนอกร่างกาย การย่อยอาหารในเซลล์ คือ การย่อยอาหารในท่อทางเดินอาหาร เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์แตกต่างกัน
ทั้งรูปร่างและรูปร่าง แต่ที่สำคัญคือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีส่วนประกอบที่สำคัญ
3 ส่วนที่เหมือนกัน ได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์
นิวเคลียส มีรูปร่างค่อนข้างกลม ภายในมีสารที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมและควบคุมการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ ไซโทพลาซึม เป็นของกึ่งของเหลวที่มีส่วนประกอบเล็ก ๆ หลายชนิด
กระจายอยู่ทั่วไป ส่วนประกอบเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างในกระบวนการดำรงชีวิตของเซลล์ ในไซโทพลาซึมยังมีสารจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์ เช่น น้ำตาล โปรตีน ละลายและแขวนลอยอยู่ รวมทั้งมีของเสียต่างๆ จากกิจกรรมของเซลล์ด้วย
เยื่อหุ้มเซลล์ อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในเซลล์ แบ่งแยกขอบเขตของเซลล์จากสิ่งแวดล้อม และควบคุม การลำเลียงของสารเข้าและออกจากเซลล์ อ่านเพิ่ม เติม
ทั้งรูปร่างและรูปร่าง แต่ที่สำคัญคือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีส่วนประกอบที่สำคัญ
3 ส่วนที่เหมือนกัน ได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์
นิวเคลียส มีรูปร่างค่อนข้างกลม ภายในมีสารที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมและควบคุมการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ ไซโทพลาซึม เป็นของกึ่งของเหลวที่มีส่วนประกอบเล็ก ๆ หลายชนิด
กระจายอยู่ทั่วไป ส่วนประกอบเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างในกระบวนการดำรงชีวิตของเซลล์ ในไซโทพลาซึมยังมีสารจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์ เช่น น้ำตาล โปรตีน ละลายและแขวนลอยอยู่ รวมทั้งมีของเสียต่างๆ จากกิจกรรมของเซลล์ด้วย
เยื่อหุ้มเซลล์ อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในเซลล์ แบ่งแยกขอบเขตของเซลล์จากสิ่งแวดล้อม และควบคุม การลำเลียงของสารเข้าและออกจากเซลล์ อ่านเพิ่ม เติม
เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตในโลกมีรูปร่างและโครงสร้างแตกต่างกันมากมาย เช่น พืช สัตว์ ทำให้เราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตเป็นชนิดต่างๆ ได้ แต่ว่าถึงแม้จะแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็ล้วนประกอบขึ้นด้วยหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดเรียกว่า เซลล์ ภายในเซลล์ทุกชนิดมีโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิด โมเลกุลของสารเหล่านี้เกิดจากโครสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุด คืออะตอมธาตุที่พบมากได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ซึ่งมีการรวมกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก เช่น โปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรตและกรดนิวคลีอิก เป็นต้น ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ต่างกัน
สารต่างๆ ในร่างกายของเรามีโครงสร้างที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โครงสร้างของสารเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของเซลล์หรือไม่ อย่างไร และสารเหล่านี้มีการสลายตัวและมีการรวมตัวกันเป็นสารชนิดใหม่ได้อย่างไร คำถามที่กล่าวมานี้นักเรียนจะได้ศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบจากบทเรียนนี้
นักวิทยาศาสตร์มีความสนใจที่จะศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยสารใดบ้าง มากน้อยแค่ไหน จากการศึกษาพบว่าเซลล์ในร่างกายของคนประกอบด้วยสารหลายชนิด และสารเหล่านี้มีปริมาณที่แตกต่างกันดังภาพที่ 1 อ่านเพิ่มเติม
สิ่งมีชีวิตในโลกมีรูปร่างและโครงสร้างแตกต่างกันมากมาย เช่น พืช สัตว์ ทำให้เราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตเป็นชนิดต่างๆ ได้ แต่ว่าถึงแม้จะแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็ล้วนประกอบขึ้นด้วยหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดเรียกว่า เซลล์ ภายในเซลล์ทุกชนิดมีโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิด โมเลกุลของสารเหล่านี้เกิดจากโครสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุด คืออะตอมธาตุที่พบมากได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ซึ่งมีการรวมกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก เช่น โปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรตและกรดนิวคลีอิก เป็นต้น ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ต่างกัน
สารต่างๆ ในร่างกายของเรามีโครงสร้างที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โครงสร้างของสารเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของเซลล์หรือไม่ อย่างไร และสารเหล่านี้มีการสลายตัวและมีการรวมตัวกันเป็นสารชนิดใหม่ได้อย่างไร คำถามที่กล่าวมานี้นักเรียนจะได้ศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบจากบทเรียนนี้
นักวิทยาศาสตร์มีความสนใจที่จะศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยสารใดบ้าง มากน้อยแค่ไหน จากการศึกษาพบว่าเซลล์ในร่างกายของคนประกอบด้วยสารหลายชนิด และสารเหล่านี้มีปริมาณที่แตกต่างกันดังภาพที่ 1 อ่านเพิ่มเติม
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา คือ การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต รากศัพท์ของคำนี้มาจากภาษากรีก คือ ไบออส (bios) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิต และโลกอส (logos) ที่หมายถึง ความคิดและเหตุผลการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตสามารถศึกษาได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับใหญ่ เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม การศึกษาความสัมพันธ์์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ การศึกษาลักษณะรูปร่าง การดำรงชีวิตและการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต สำหรับการศึกษาในระดับย่อยลงมา เช่น การศึกษาองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ ในด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน
นอกจากนี้ชีววิทยายังครอบคลุมถึงการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในระดับโมเลกุล อะตอมที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์ เช่น โมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) โมเลกุลของสารอินทรีย์และอะตอมของธาตุต่างๆที่พบในสิ่งมีชีวิต รวมถึง การศึกษาเรื่องปฏิกิริยาเคมี และพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกายสิ่งมีชีวิตอีกด้วย จะเห็นได้ว่า ชีววิทยานั้นเกี่ยวข้องกับความรู้ต่างๆหลายสาขา ทั้งทางด้านเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประยุกต์นำมาใช้อธิบายหรือจำลองความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเพื่อตอบปัญหาต่างๆที่มนุษย์สงสัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตได้
คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต
ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตนั้นมีหลายประการ ในการศึกษาทางด้านชีววิทยามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสามารถแยกให้ได้ว่าสิ่งใดคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งใดคือสิ่งไม่มีชีวิตเสียก่อน จึงสามารถศึกษาในขั้นต่อไปได้อย่างถูกต้อง ซึ่งลักษณะที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ได้แก่อ่านเพิ่มเติม
นอกจากนี้ชีววิทยายังครอบคลุมถึงการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในระดับโมเลกุล อะตอมที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์ เช่น โมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) โมเลกุลของสารอินทรีย์และอะตอมของธาตุต่างๆที่พบในสิ่งมีชีวิต รวมถึง การศึกษาเรื่องปฏิกิริยาเคมี และพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกายสิ่งมีชีวิตอีกด้วย จะเห็นได้ว่า ชีววิทยานั้นเกี่ยวข้องกับความรู้ต่างๆหลายสาขา ทั้งทางด้านเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประยุกต์นำมาใช้อธิบายหรือจำลองความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเพื่อตอบปัญหาต่างๆที่มนุษย์สงสัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตได้
คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต
ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตนั้นมีหลายประการ ในการศึกษาทางด้านชีววิทยามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสามารถแยกให้ได้ว่าสิ่งใดคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งใดคือสิ่งไม่มีชีวิตเสียก่อน จึงสามารถศึกษาในขั้นต่อไปได้อย่างถูกต้อง ซึ่งลักษณะที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ได้แก่อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)